ภายหลังจากสถานการณ์โรคระบาดได้มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ทำให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มที่จะกลับมาเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวกันอีกครั้ง และหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ยังได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย คือ ประเทศญี่ปุ่น ดินแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งยังคงมีเสน่ห์และน่าสนใจอยู่เสมอสำหรับนักเดินทางจากทั่วโลก ส่วนใครที่วางแผนเตรียมตัวไปญี่ปุ่น กันไว้แล้ว ควรเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกาย เอกสารสำคัญ และของใช้ที่จำเป็นเพื่อให้ทริปเที่ยวญี่ปุ่นไม่สะดุดหัวคะมำ และวันนี้เราจะมาแชร์ความรู้สำหรับเตรียมตัวไปเที่ยวญี่ปุ่นว่ากันด้วยเรื่องปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น
ทำไมต้องสนใจเรื่องปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น ด้วยนะ
ปลั๊กไฟที่ใช้ในประเทศไทย
ปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น เป็นแบบไหน
กระแสไฟฟ้าประเทศญี่ปุ่น กับ ประเทศไทยต่างกันอย่างไร ?
แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่อง ปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น อย่างไรดี
ทำไมต้องสนใจเรื่องปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น ด้วยนะ
เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เตรียมแพลนไปเที่ยวญี่ปุ่น คงต้องศึกษาเส้นทางและสถานที่ท่องเที่ยว พาหนะการเดินทาง เสื้อผ้าที่เหมาะกับฤดูกาล จุดเช็คอินถ่ายรูป และรายชื่อของฝากที่เตรียมซื้อกลับมาฝากขากลับอย่างแน่นอน แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนคิดไม่ถึง และอาจไม่ได้เตรียมการให้เรียบร้อยก็คือเรื่องของปลั๊กไฟค่ะ ทั้งนี้ ที่เราต้องสนใจเรื่องนี้ก็เพราะว่า ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะมีข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าติดตัวเวลาไปเที่ยวกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเดินทางท่องเที่ยวทั้งในหรือต่างประเทศก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็ปเลต โน้ตบุ๊ก กล้องถ่ายรูป นาฬิกา หรืออุปกรณ์เสริมความงาม เช่น ที่หนีบผม ไดร์เป่าผม ซึ่งแน่นอนว่าในสถานที่พักบางแห่งก็ไม่มีให้บริการกับลูกค้า หรือมีก็ไม่ถูกใจใช้คล่องมือเหมือนเราถือไปเอง จึงไม่แปลกเลยที่จะต้องหอบเอาไปจากที่บ้าน แต่การไปท่องเที่ยวในต่างประเทศมักจะมีปัญหาในเรื่องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เพราะปลั๊กไฟเจ้ากรรมมันดันไม่สามารถรองรับกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราขนไปจากบ้าน สำหรับนักท่องเที่ยวที่เตรียมตัวไปเที่ยวญี่ปุ่นก็คงจะต้องเจอปัญหาในเรื่องปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่นกันเช่นกัน ถ้ายังงั้นมาลองดูกันหน่อยซิว่าปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่นกับปลั๊กไฟบ้านเรามันต่างกันยังไง จะได้ไม่ต้องมานั่งปวดใจเพราะขนอุปกรณ์ไปมากมายแต่ใช้ไม่ได้ นั่นเอง
ปลั๊กไฟที่ใช้ในประเทศไทย
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปลั๊กไฟแต่ละชนิดที่นิยมใช้ในประเทศไทย ว่ามีกี่ชนิดและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง สำหรับปลั๊กไฟที่นิยมใช้กันทั่วโลกมีอยู่ทั้งหมด 14 แบบตั้งแต่ Type A-N แต่ที่นิยมใช้ในประเทศไทยนั้นมีแค่ 4 ประเภท ได้แก่ Type A, B, C และ F มีรายละเอียดของแต่ละชนิด ดังนี้
Type A จะมีลักษณะเป็นปลั๊กขาแบน 2 ขา ไม่มีกราวด์หรือสายดิน โดยจะมีรูเล็ก ๆ อยู่บริเวณปลายขาเพื่อใช้เป็นสลักเมื่อเสียบปลั๊กเข้ากับเต้ารับจะได้แน่นไม่หลุดง่าย Type B จะมีลักษณะเป็นปลั๊กขาแบน 2 ขา กับขากลมอีก 1 ขาซึ่งเป็นขากราวด์หรือสายดิน โดยขากลมจะมีความยาวมากกว่าขาแบนทั้ง 2 ขา เพื่อเวลาเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าจะถูกต่อสายดินให้มีสถานะเป็นกราวด์ ก่อนจ่ายไฟไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า Type C จะมีลักษณะเป็นปลั๊กขากลม 2 ขา ไม่มีกราวด์หรือสายดิน Type F จะมีลักษณะเป็นปลั๊กขากลม 2 ขา แต่มีการเพิ่มแถบคลิปกราวด์ 2 ด้าน อยู่ในตำแหน่งบนและล่าง ตัวเต้ารับจะมีลักษณะบุ๋มลงไปเล็กน้อยเพื่อยึดตัวปลั๊กไว้
ปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น เป็นแบบไหน
ปลั๊กไฟที่นิยมใช้ในประเทศไทยบางประเภทมีความคล้ายคลึงกับปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น เพราะประเทศไทยนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามาจากประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง คราวนี้ลองมาดูว่าปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น มีแบบใดกันบ้าง สำหรับปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่นนิยมใช้ มีดังนี้
ปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น Type A จะมีลักษณะเป็นปลั๊กขาแบน 2 ขา ไม่มีกราวด์หรือสายดิน โดยจะมีรูเล็ก ๆ อยู่บริเวณปลายขาเพื่อใช้เป็นสลักเมื่อเสียบปลั๊กเข้ากับเต้ารับจะได้แน่นไม่หลุดง่าย ปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น Type B จะมีลักษณะเป็นปลั๊กขาแบน 2 ขา กับขากลมอีก 1 ขาซึ่งเป็นขากราวด์หรือสายดิน โดยขากลมจะมีความยาวมากกว่าขาแบนทั้ง 2 ขา เพื่อเวลาเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าจะถูกต่อสายดินให้มีสถานะเป็นกราวด์ ก่อนจ่ายไฟไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่โดยส่วนใหญ่ปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น ตามโรงแรมที่พักต่าง ๆ มักนิยมใช้ปลั๊ก Type A ซึ่งเป็นปลั๊กขาแบบ 2 ขา ถ้านักท่องเที่ยวมีความจำเป็นต้องพกพาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าไปด้วย ก็ควรเตรียมปลั๊กแปลง หรือปลั๊กแปลงแบบ Universal Adapter หรือหัวแปลงปลั๊กไฟเอนกประสงค์แบบที่สามารถใช้ได้ทั่วโลกไปเลย ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำในประเทศไทย
กระแสไฟฟ้าประเทศญี่ปุ่น กับ ประเทศไทยต่างกันอย่างไร ?
นอกจากปัญหาเรื่องปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นยังต้องคำนึงถึงแรงดันของกระแสไฟฟ้าด้วย ประเทศญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ แรงดัน110 โวลต์ทั่วประเทศ แต่ใช้ความถี่ (เฮิรตซ์) แตกต่างกันแบ่งเป็นญี่ปุ่นตะวันออกหรือภูมิภาคคันโตใช้ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ส่วนญี่ปุ่นตะวันตกหรือภูมิภาคคันไซใช้ความถี่ 60 เฮิรตซ์ เพราะในยุคเมจิ ญี่ปุ่นตะวันออกนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากเยอรมัน ส่วนญี่ปุ่นตะวันตกนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากอเมริกา และยังคงใช้ระบบนี้กันมาจนถึงในยุคปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทยใช้แรงดันไฟฟ้าที่ 220-240 โวลต์ และ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งแรงดันไฟฟ้าบ้านเรามากกว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นเท่าตัว การนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยไปใช้ในประเทศญี่ปุ่น จึงต้องตรวจว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นสามารถใช้กับแรงดันไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด โดยตรวจสอบได้จากสายชาร์จ หรืออะแด๊ปเตอร์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะบอกรายละเอียดของกระแสไฟฟ้าที่ตัวเครื่องรองรับได้ โดยทั่วไปเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานส่วนใหญ่ เช่น สมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ค หรือกล้องถ่ายรูป มักไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้งานเพราะอุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกพัฒนามาให้ใช้งานได้ทั่วโลกจึงรองรับกระแสไฟฟ้าได้ ตั้งแต่ 100-220 โวลต์ ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักเกิดขึ้น คือ แรงดันไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นมักไม่เพียงพอต่อความต้องการของเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทย โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้ไฟจำนวนมาก เช่น เครื่องหนีบผม และไดร์เป่าผมที่ซื้อจากประเทศไทยซึ่งใช้ไฟค่อนข้างมาก เมื่อเจอแรงดันไฟฟ้าต่ำเครื่องจะร้อนช้ากว่าในเมืองไทย แต่โรงแรมที่ประเทศญี่ปุ่นบางแห่งจะมีไดร์เป่าผมไว้ในห้องพักอยู่แล้ว
แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่อง ปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่น อย่างไรดี
ทางออกของปัญหา คือ ถ้าเราจำเป็นต้องใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ ก็ควรซื้อหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) ที่สามารถแปลงแรงดันไฟฟ้าจาก 110 โวลต์เป็น 220 โวลต์ ซึ่งถ้าไม่อยากแบกไปให้หนักนักท่องเที่ยวก็สามารถหาซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าได้ โดยสามารถหาซื้อได้ในร้านไฟฟ้าชั้นนำ ย่านอากิฮาบาระในโตเกียว หรือย่านนิปปงบาชิในโอซาก้า ซึ่งมีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก
ส่วนนักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับมาใช้ที่ประเทศไทย ก็ควรตรวจสอบเช่นเดียวกันว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ซื้อมานั่นรองรับกระแสไฟฟ้าประเทศไทยได้หรือไม่ ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ารับแรงดันไฟฟ้าได้ไม่ถึง 220 โวลต์ก็ต้องซื้อหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) มาแปลงกระแสไฟจาก 220 โวลต์ เป็น 110 โวลต์ เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถ้าไม่มีหม้อแปลงไฟฟ้าอาจจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และนำไปสู่การเกิดเพลิงไหม้เอาได้
เอาล่ะ ไหน ๆ ก็เดินเข้าร้านเครื่องใช้ไฟฟ้ากันแล้ว ขอแนะนำนักท่องเที่ยวอีกสักนิดว่าควรซื้ออุปกรณ์เสริมจำพวกอุปกรณ์ต่อพ่วงสายไฟฟ้า หรือเรียกง่าย ๆ ก็ปลั๊กสามตานั่นแหละ เพราะเจ้านี่มีประโยชน์มากในกรณีที่เรามีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างแล้วบังเอิญต้องมาใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กันทีเดียวทั้งหมด แล้วทางโรงแรมก็ดันมีปลั๊กไฟให้เราเสียบอยู่แค่รูเดียว เมื่อนั้นคุณจะเห็นคุณค่าของปลั๊กสามตาขึ้นมาทันที ปลั๊กสามตาหาซื้อไม่ยาก แต่สิ่งสำคัญควรอ่านรายละเอียด และสังเกตเครื่องมาตรฐาน มอก. หรือ เครื่องหมายรับรองความปลอดภัยให้ครบถ้วน เพราะการใช้ปลั๊กสามตาจะใช้ก็ต่อเมื่อต้องการเสียบปลั๊กไฟหลายสายพร้อม ๆ กัน ถ้าปลั๊กไม่มีคุณภาพดีก็อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดลวงจรได้
และนี่คือข้อมูลคร่าวๆ ของ ปลั๊กไฟ ที่ญี่ปุ่นที่เรานำมาฝากกันค่ะ แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าจากที่ใดที่หนึ่งไปใช้ในอีกที่หนึ่ง จะต้องตรวจสอบป้ายรายละเอียดว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องนั้น สามารถรองรับระบบไฟฟ้าแบบใดบ้าง ทั้งแรงดัน ความถี่ กำลังไฟ รวมทั้งควรเลือกใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ โดยดูสัญลักษณ์รับรองคุณภาพ ศึกษาข้อมูลรายละเอียดที่ปรากฏบนฉลากสินค้าให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ก็เพื่อความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า และอย่าลืมปิดสวิทซ์ ถอดปลั๊กไฟเมื่อไม่ใช้งานแล้ว เพื่อช่วยกันประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อนกันด้วยนะคะ