ของที่ควรระวังก่อนนำขึ้นเครื่อง ก่อนที่จะไปเช็กลิสต์ว่าของห้ามขึ้นเครื่องบินนั้นมีอะไรบ้าง เรามาดูกันก่อนว่ามีของอะไรบ้างที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ อะไรที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน แต่ว่ามีเงื่อนไขและข้อระวังบางอย่างที่ต้องปฏิบัติตามก่อนนำขึ้นเครื่องกันค่ะ
1. ของเหลวและเจล
ของเหลวและเจลเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินแบบมีข้อกำหนด ของเหลวดังกล่าวจะรวมถึงเครื่องดื่ม น้ำหอม โลชั่น และเจลต่าง ๆ ตามกฎของ TSA (Transportation Security Administration) ของเหลวที่นำขึ้นเครื่องจะต้องมีปริมาณไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (หรือ 3.4 ออนซ์) ต่อขวด และขวดทั้งหมดต้องบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสขนาด 1 ลิตร โดยถุงนี้ต้องสามารถปิดสนิทได้ และผู้โดยสารสามารถนำถุงดังกล่าวขึ้นเครื่องได้เพียง 1 ถุงต่อคน หรือตามกฎ 3-1-1 ของ TSA คือ
3.4 ออนซ์ (100 มิลลิลิตร) : ของเหลวแต่ละชิ้นต้องมีปริมาณไม่เกิน 100 มิลลิลิตร 1 ลิตร: ของเหลวทั้งหมดต้องบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสขนาด 1 ลิตรที่สามารถปิดสนิทได้ 1 ถุงต่อคน: ผู้โดยสารสามารถนำถุงของเหลวขึ้นเครื่องได้เพียง 1 ถุง
2. พาวเวอร์แบงค์และแบตเตอรี่ลิเธียม
พาวเวอร์แบงค์และแบตเตอรี่ลิเธียมเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินแบบมีข้อกำหนดเช่นเดียวกัน โดยเงื่อนไขในการพกพาวเวอร์แบงค์และแบตเตอรี่ลิเธียมขึ้นเครื่องมีข้อกำหนดดังนี้
พาวเวอร์แบงก์ความจุไฟฟ้า 20,000 mAh หรือไม่เกิน 100 วัตต์ชั่วโมง (Wh) สามารถนำขึ้นเครื่องได้โดยไม่มีข้อจำกัด พาวเวอร์แบงก์ความจุไฟฟ้า 20,000-32,000 mAh หรือระหว่าง 100-160 Wh ต้องได้รับอนุญาตจากสายการบินก่อนนำขึ้นเครื่องและจำกัดจำนวนไม่เกิน 2 ชิ้นต่อคน พาวเวอร์แบงก์ความจุไฟฟ้า 32,000 mAh หรือมากกว่า 160 Wh เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินในทุกกรณี แบตเตอรี่ลิเธียมทั้งหมดต้องนำขึ้นเครื่องในกระเป๋าถือ ไม่อนุญาตให้ใส่กระเป๋าเดินทางโหลดใต้เครื่องเด็ดขาด กรณีที่ไม่มีการระบุความจุของกระแสไฟฟ้าอย่างชัดเจน ใบอนุญาตให้นำขึ้นเครื่อง
3. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แล็ปท็อป แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และกล้องถ่ายรูป ไม่จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน แต่จะต้องนำออกมาตรวจสอบแยกที่จุดตรวจสัมภาระ ในบางกรณีอาจจะต้องทำการเปิดเครื่องหรือเสียบปลั๊กเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ โดยแล็บท็อปหรือโทรศัพท์บางรุ่นอาจเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบิน เนื่องจากมีปัญหาตั้งแต่กระบวนการผลิตที่อาจเกิดอันตรายได้เมื่อนำขึ้นเครื่อง จึงควรเช็ครุ่นอุปกรณ์กันให้ดีก่อนค่ะ
4. ยาและอุปกรณ์การแพทย์
ยาสามัญประจำบ้านทั่วไปที่ต้องใช้ระหว่างการเดินทางไม่จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน แต่ควรมีใบสั่งแพทย์หรือเอกสารยืนยันการใช้ยา ในขณะที่อุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ เข็มฉีดยา สามารถนำขึ้นเครื่องได้แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เอาไว้ล่วงหน้า ส่วนการนำยาขึ้นเครื่องบินนั้นจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปตามประเทศและสายการบิน จึงควรพกพาเฉพาะยาที่จำเป็นสำหรับการเดินทางและควรพกพาในปริมาณที่เหมาะสม และควรมีเอกสารจากแพทย์หรือใบสั่งยาที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับยาที่พกพามา เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันในกรณีที่ต้องการตรวจสอบ ที่สำคัญคือควรเก็บยาในบรรจุภัณฑ์เดิมที่มีฉลากชัดเจน ยาบางชนิดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ถูกควบคุม เช่น Pseudoephedrine, Ephedrine, Diphenoxylate, Codeine, กลุ่มยานอนหลับเช่น Diazepam, Lorazepam และกลุ่มยารักษาโรคเครียดเช่น Fluoxetine จัดเป็นกลุ่มของยาที่ห้ามขึ้น เครื่องบิน จึงควรตรวจสอบกับสายการบินและหาข้อมูลดูก่อนว่าประเทศปลายทางที่เราเดินทางไปมีข้อห้ามสำหรับยาพวกนี้หรือไม่
5. เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไม่จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน บางชนิดสามารถนำขึ้นเครื่องได้โดยไม่มีข้อจำกัด เช่น เครื่องสำอางที่เป็นของแข็ง เช่น แป้ง บลัชออน สามารถนำขึ้นได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณ ส่วนเครื่องสำอางที่เป็นของเหลว เช่น รองพื้น ลิปสติก คอนซีลเลอร์ จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินแบบมีข้อจำกัดตามกฎการนำของเหลวขึ้นเครื่อง โดยจะต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตรต่อชิ้น
6. อาหาร
โดยทั่วไปอาหารไม่จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน บางรายการสามารถนำอาหารขึ้นเครื่องได้ตามลักษณะของอาหาร ได้แก่อาหารที่เป็นของแข็ง เช่น ขนมปัง ชีส แข็ง ผลไม้ สามารถนำขึ้นได้ ส่วนอาหารที่เป็นของเหลวและเจล เช่น ซุป โยเกิร์ต ซอสต่าง ๆ จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินแบบมีเงื่อนไข โดยต้องปฏิบัติตามกฎ 100 มิลลิลิตร และถ้าหากเป็นอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น กะปิ ปลาร้า อาหารทะเลตากแห้ง ทุเรียน ถือว่าเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินในกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง ต้องทำการแพ็คให้มิดชิดและโหลดใต้ท้องเครื่อง
7. ของใช้ส่วนตัว
แปรงสีฟันไฟฟ้าและเครื่องโกนหนวดไฟฟ้า สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ยาสีฟันและเจลโกนหนวด ต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตรถึงนำขึ้นเครื่องได้ กรรไกรที่มีใบมีดยาวไม่เกิน 4 นิ้วหรือประมาณ 10 เซนติเมตร สามารถนำขึ้นเครื่องได้ แต่ต้องเก็บไว้ใกระเป๋าถือที่นำขึ้นเครื่อง กรรไกรที่มีใบมีดยาวเกิน 4 นิ้ว จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินพร้อมกระเป๋าถือ ต้องเก็บไว้ในกระเป๋าสัมภาระที่โหลดใต้ท้องเครื่องเท่านั้น มีดโกนหนวดแบบ Safety Razor สามารถนำขึ้นเครื่องได้เฉพาะด้ามจับ แต่ใบมีดต้องบรรจุในกระเป๋าสัมภาระที่โหลดใต้ท้องเครื่อง ส่วนมีดโกนหนวดแบบใช้แล้วทิ้ง สามารถนำขึ้นเครื่องได้ทั้งใบมีดและด้ามจับ เนื่องจากใบมีดจะถูกบรรจุเอาไว้อย่างปลอดภัย
8. สินค้า Duty-Free
สินค้าที่ซื้อจากร้านค้าปลอดภาษีไม่จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน สามารถนำขึ้นเครื่องได้แต่จะต้องบรรจุในถุงพลาสติกใส มีใบเสร็จและเก็บถุงปิดสนิทจนกว่าจะถึงปลายทาง หากสินค้าเป็นของเหลวจะต้องเป็นไปตามกฎ 3-1-1
9. กระเป๋าเดินทาง
กระเป๋าเดินทางที่สามารถนำขึ้นเครื่องได้เรียกว่า กระเป๋าถือขึ้นเครื่อง (Carry-on Luggage) ส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ผู้โดยสารนำกระเป๋าถือขึ้นเครื่องได้ 1 ใบ และสามารถนำกระเป๋าส่วนตัวขึ้นเครื่องได้อีก 1 ใบเช่นกระเป๋าถือ กระเป๋าแล็ปท็อป หรือกระเป๋าเป้สะพายหลัง โดยกระเป๋าถือขึ้นเครื่องส่วนใหญ่จะกำหนดให้มีขนาดไม่เกิน 22 x 14 x 9 นิ้ว (ประมาณ 56 x 36 x 23 เซนติเมตร) รวมทั้งล้อและมือจับ และมีน้ำหนักไม่เกิน 7-10 กิโลกรัม (15-22 ปอนด์) ถ้ามากกว่านั้นจัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินติดตัวขึ้นไปในห้องโดยสาร ต้องโหลดใต้เครื่องเท่านั้น แต่บางสายการบินอาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างออกไป
เช็กลิสต์ 20 ของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน อะไรที่ห้ามนำขึ้นเครื่องและโหลดใต้ท้องเครื่องบ้าง หลังจากที่ทราบแล้วว่าของที่สามารถนำขึ้นเครื่องได้แต่มีข้อจำกัดมีอะไรกันบ้างแล้ว เราก็จะมาสรุปรวบรวมเป็นเช็กลิสต์ 20 เป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินมาให้ค่ะ ซึ่งบางรายการอาจห้ามทั้งการนำขึ้นเครื่องและการโหลดใต้ท้องเครื่อง และบางรายการก็จะเป็นของที่สามารถนำขึ้นเครื่องได้แต่มีข้อจำกัด รวมไปถึงสิ่งของที่มีข้อจำกัดพิเศษ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ของมีคม ของมีคมทุกชนิด เช่น มีด กรรไกร คัตเตอร์ และอุปกรณ์ตัดอื่น ๆ ที่มีคม ถือเป็นสิ่งที่อาจนำมาใช้เป็นอาวุธได้ จัดเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินค่ะ ซึ่งการพกพาของมีคมขึ้นเครื่องบินสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและลูกเรือ หากจำเป็นต้องพกของมีคม ควรบรรจุในสัมภาระเช็คอินแทนกระเป๋าถือ ในกรณีที่เป็นของมีคมขนาดเล็ก เช่น กรรไกรตัดเล็บ ที่โกนหนวด หรือกรรไกรขนาดเล็กที่มีใบมีดยาวไม่เกิน 4 นิ้ว สามารถนำใส่กระเป๋าถือเพื่อขึ้นเครื่องได้ ทั้งนี้แล้วแต่ข้อกำหนดของสายการบินนั้น ๆ
2. ของเหลวและเจล ของเหลวและเจลที่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ของเหลวที่เกิน 100 มิลลิลิตร เช่น แชมพู โลชั่น หรือเครื่องดื่ม จำเป็นต้องบรรจุในสัมภาระเช็คอิน และวางรวมกันในถุงพลาสติกใสขนาด 1 ลิตร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น มีข้อยกเว้นสำหรับยาและนมสำหรับเด็กอ่อน ที่สามารถพกพาในปริมาณที่มากกว่าได้หากจำเป็น แต่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน รวมไปถึงของเหลวที่ซื้อมาจากร้านค้าปลอดภาษีภายในสนามบินหลังจากที่ผ่านการตรวจเช็คความปลอดภัยแล้ว สามารถนำขึ้นเครื่องได้หากยังคงมีการซีลอยู่ในถุงที่ปิดผนึก
3. สเปรย์ สเปรย์น้ำหอมและผลิตภัณฑ์สเปรย์อื่น ๆ ไม่จัดเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินค่ะ แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎเดียวกันกับของเหลวและเจล และห้ามมีการใช้ในเครื่องบินเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อผู้โดยสารคนอื่น ยกเว้นสเปรย์ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เช่น สเปรย์สำหรับสูดดมของผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจ หากมีใบรับรองแพทย์อาจได้รับการอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้
4. อาวุธปืนและกระสุนปืน อาวุธปืนทุกชนิดรวมถึงกระสุนปืนและชิ้นส่วนปืน เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบินในกระเป๋าถือโดยเด็ดขาด การขนส่งอาวุธปืนจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อยกเว้นสำหรับการนำอาวุธปืนขึ้นเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์ในการแข่งขันกีฬา หรือเพื่อการป้องกันตนเองสำหรับกรณีของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยจำเป็นต้องมีใบอนุญาตและปฏิบัติตามระเบียบการพิเศษที่สายการบินกำหนด
5. วัตถุระเบิด วัตถุระเบิดเช่น พลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินอย่างเด็ดขาดโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นการพกพาในกระเป๋าถือหรือสัมภาระเช็คอิน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้โดยสารคนอื่นและเครื่องบินได้
6. วัตถุไวไฟ วัตถุไวไฟ เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด ทินเนอร์ และสารเคมีไวไฟอื่น ๆ ถือเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินเนื่องจากเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยบนเครื่องบิน การพกพาเหล่านี้อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิดขึ้นมาได้
7. สารเคมีอันตราย สารเคมีที่อาจเป็นอันตราย เช่น สารพิษ, สารกัดกร่อน, กรดซัลฟูริก, โซดาไฟ, ปรอท และสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือทำร้ายผู้โดยสารคนอื่นบนเครื่องได้
8. แบตเตอรี่ลิเธียมขนาดใหญ่ แบตเตอรี่ลิเธียมขนาดใหญ่ที่มีความจุเกิน 160 วัตต์ชั่วโมง หรือมากกว่า 32,000 mAh จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการระเบิดหรือไฟลุกไหม้ได้ ซึ่งการจัดเก็บและพกพาแบตเตอรี่ลิเธียมจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด และในส่วนของแบตเตอรี่ที่อยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น โทรศัพท์มือถือและแล็ปท็อป จะได้รับอนุญาตให้ขึ้นเครื่องได้หากอยู่ในปริมาณที่กำหนด แต่ทั้งนี้อาจมีมือถือหรือแล็ปท็อปบางรุ่นที่ทางบริษัทยอมรับว่ามีปัญหาตั้งแต่กระบวนการผลิต ทำให้เสี่ยงต่อการระเบิดหรืออุบัติเหตุ ดังนั้นจึงควรเช็ครุ่นมือถือและแล็ปท็อปกับทางสายการบินว่าเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินหรือไม่
9. อุปกรณ์ Stun Gun และอุปกรณ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย อุปกรณ์สตั๊นกัน (Stun Gun) เช่น เครื่องช็อตไฟฟ้า รวมไปถึงของที่ใช้ป้องกันตัวและรักษาความปลอดภัย เช่น กระบอง กุญแจมือ วิทยุสื่อสาร สนับมือ เครื่องช็อตไฟฟ้า แม้กระทั่งสเปรย์พริกไทย ถือเป็นอาวุธที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสารและลูกเรือ จึงเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินโดยไม่มีข้อยกเว้นค่ะ
10. อุปกรณ์กีฬาอันตราย อุปกรณ์กีฬาที่มีขนาดใหญ่หรือแข็งแรง เช่น ไม้เบสบอล ไม้กอล์ฟ ไม้ฮอกกี้ เบ็ดตกปลา เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินในกระเป๋าถือแบบ carry on เนื่องจากสามารถใช้เป็นอาวุธได้ จำเป็นที่จะต้องโหลดลงพร้อมกับกระเป๋าสัมภาระใต้ท้องเครื่องเท่านั้น และต้องจัดเก็บให้มิดชิดปลอดภัย
11. เครื่องมือช่าง/สิ่งของที่มีความคมและหนัก เครื่องมือช่างรวมไปถึงสิ่งของที่มีความคมและหนัก เช่น ค้อน ไขควง ประแจ สว่าน เลื่อย อุปกรณ์เหล่านี้อาจสามารถนำมาใช้เป็นอาวุธ และก่อให้เกิดอันตรายได้หากนำขึ้นเครื่องในกระเป๋าถือ เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินในกระเป๋าถือแบบ carry on จำเป็นที่จะต้องโหลดพร้อมกับกระเป๋าสัมภาระใต้ท้องเครื่องเท่านั้น
12. อุปกรณ์เดินทางขนาดใหญ่ อุปกรณ์เดินทางขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเล่นสกี กระดานโต้คลื่น จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินไปกับกระเป๋าถือได้ ต้องจัดเก็บในช่องสัมภาระใต้เครื่องและได้รับการจัดการที่เหมาะสม
13. สัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้รับอนุญาต การพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยสัตว์เลี้ยงต้องอยู่ในกรงหรือภาชนะที่เหมาะสมและต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากสายการบิน สัตว์เลี้ยงขนาดเล็กบางชนิดอาจได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้ในกรณีพิเศษ เช่น สัตว์ที่มีไว้สำหรับช่วยเหลือผู้พิการ สัตว์มีพิษหรือสัตว์ดุร้ายจัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินโดยเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้อื่นได้
14. ของที่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ สำหรับอุปกรณ์หรือสารเคมีที่จำเป็นต้องใช้ในการรักษาทางการแพทย์ จัดเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินแบบมีข้อกำหนด โดยต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าและมีเอกสารยืนยัน ซึ่งทางสายการบินจะรับพิจารณาเป็นกรณีไป ซึ่งผู้โดยสารที่ประสงค์นำอุปกรณ์หรือสารเคมีขึ้นเครื่องเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ จะต้องมีเอกสารยืนยันเป็นใบรับรองแพทย์ด้วย
15. ยาเสพติดทุกประเภท แน่นอนว่ายาเสพติดคือของผิดกฎหมายและเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ยาเสพติดบางประเภทอาจได้รับอนุญาตให้ใช้ในบางประเทศหรือบางเมืองเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นกัญชาที่อาจไม่ผิดกฎหมายในบ้านเรา แต่มีบางประเทศหรือบางเมืองที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าโดยเด็ดขาด ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินที่อาจมีความผิดตามกฎหมายได้
16. สิ่งของที่ก่อให้เกิดความรำคาญ สิ่งของที่ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้โดยสารท่านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นของที่มีกลิ่นแรง เช่น สารเคมีที่มีกลิ่นฉุน สารที่มีกลิ่นเหม็น อาหารที่มีกลิ่น เช่น ทุเรียน กะปิ ปลาร้า อาหารทะเลแห้ง ไปจนถึงสิ่งของที่ทำให้เกิดเสียงดัง เป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินเนื่องจากอาจก่อให้เกิดความความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้โดยสารคนอื่นบนเครื่อง
17. ยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็ก สิ่งของจำพวกยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น สกูตเตอร์ไฟฟ้า โฮเวอร์บอร์ด เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เนื่องจากแบตเตอรี่อาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ หากจำเป็นต้องนำขึ้นเครื่องไปด้วยต้องจัดเก็บในสัมภาระเช็คอินโหลดใต้ท้องเครื่องและต้องได้รับอนุญาตจากสายการบินล่วงหน้า
18. อุปกรณ์เลเซอร์ อุปกรณ์เลเซอร์ เช่น เลเซอร์พอยน์เตอร์ อุปกรณ์เลเซอร์สแกน ใด ๆ ก็ตามที่สามารถปล่อยลำแสงเลเซอร์ได้ เป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินโดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะอาจรบกวนระบบการบินและความปลอดภัย
19. อุปกรณ์ดำน้ำ อุปกรณ์สำหรับการดำน้ำดำน้ำ เช่น ถังออกซิเจน และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับการจัดเก็บและจัดการอย่างปลอดภัย และต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากสายการบิน เป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินในห้องโดยสาร จะโหลดใต้ท้องเครื่องร่วมกับกระเป๋าสัมภาระ
20. สิ่งของละเมิดลิขสิทธิ์ การพกพาสิ่งของละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น สินค้าปลอมแปลง ดีวีดีหรือซอฟต์แวร์ที่ถูกคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในหลายประเทศ จัดได้ว่าเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินด้วยเช่นกัน เนื่องจากการพกพาสิ่งของเหล่านี้อาจนำไปสู่การถูกปรับหรือถูกจับกุมในประเทศที่มีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเข้มงวด ขึ้นเครื่องบินเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง เพราะเป็นการละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งทางกฎหมาย ความปลอดภัย และความล่าช้าในการเดินทาง
นอกเหนือไปจากของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินทั้ง 20 รายการที่เราได้รวบรวมมาให้แล้ว ก็ยังมีของห้ามขึ้นเครื่องบินอื่น ๆ ที่ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น แม่เหล็กขนาดใหญ่หรืออุปกรณ์ที่อาจทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เนื้อสัตว์หรือของสดที่ผ่านการแช่แข็ง น้ำแข็งแห้ง สิ่งของที่แตกหักง่าย สิ่งของหรือเครื่องประดับที่มีราคาแพง การปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้จะช่วยให้การเดินทางของคุณปลอดภัยและปราศจากปัญหาในการตรวจสอบสัมภาระ แต่ถ้าหากไม่แน่ใจว่าสิ่งของที่คุณต้องการพกติดตัวหรือนำขึ้นเครื่องบินไปด้วยเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินหรือไม่ ทำให้ทำการติดต่อสอบถามไปยังสายการบินที่จะเดินทาง หรือตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่สนามบินก่อนการเดินทางจะเป็นการดีที่สุดค่ะ
สรุปคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน การนำของขึ้นเครื่องบินมีข้อกำหนดและข้อห้ามหลายอย่างเพื่อความปลอดภัย ดังนั้นเราจึงได้สรุปคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินมาฝากกันค่ะ
1. พาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องได้ไหม? เราสามารถนำพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องได้ แต่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความจุของแบตเตอรี่ ดังนี้
พาวเวอร์แบงก์ความจุไฟฟ้า 20,000 mAh หรือไม่เกิน 100 วัตต์ชั่วโมง (Wh) สามารถนำขึ้นเครื่องได้โดยไม่มีข้อจำกัด พาวเวอร์แบงก์ความจุไฟฟ้า 20,000-32,000 mAh หรือระหว่าง 100-160 Wh ต้องได้รับอนุญาตจากสายการบินก่อนนำขึ้นเครื่องและจำกัดจำนวนไม่เกิน 2 ชิ้นต่อคน พาวเวอร์แบงก์ความจุไฟฟ้า 32,000 mAh หรือมากกว่า 160 Wh เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน ไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบินในทุกกรณี
2. กระเป๋าเดินทางขึ้นเครื่องได้ไหม? สามารถนำกระเป๋าเดินทางขึ้นเครื่องได้แต่มีข้อจำกัดด้านขนาดและน้ำหนัก ดังนี้
ขนาดทั่วไปของกระเป๋าเดินทางที่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องคือไม่เกิน 22 x 14 x 9 นิ้ว (56 x 36 x 23 ซม.) รวมทั้งห้องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ หากมากกว่านั้นจะเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินเข้ามาในห้องโดยสาร ต้องโหลดใต้เครื่อง น้ำหนักอาจแตกต่างกันไปตามสายการบิน แต่ส่วนใหญ่จะจำกัดที่ประมาณ 7-10 กิโลกรัม (15-22 ปอนด์)
3. ของเหลวขึ้นเครื่องได้ไหม? มีข้อจำกัดด้านการนำเอาของเหลวขึ้นเครื่อง ดังนี้
ขนาดของเหลวที่นำขึ้นเครื่องได้ : ของเหลว, เจล, และสเปรย์ต้องอยู่ในภาชนะที่มีขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (3.4 ออนซ์) หากมากกว่านั้นจะเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน บรรจุในถุง : ต้องบรรจุทั้งหมดในถุงพลาสติกใสที่มีซิปล็อคขนาดไม่เกิน 1 ลิตร (1 ควอร์ต) และผู้โดยสารสามารถนำถุงของเหลวขึ้นเครื่องได้เพียง 1 ถุง
4. น้ำหอม 100 ml ขึ้นเครื่องได้ไหม? โดยปกติแล้วน้ำหอม 100 ml สามารถนำขึ้นเครื่องได้ตามข้อบังคับการนำของเหลวขึ้นเครื่อง แต่มีข้อควรระวังคือหากขวดน้ำหอมระบุปริมาตรเกิน 100 หากมากกว่านั้นจะเป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน ทางที่ดีควรบางใส่ขวดสเปรย์เล็ก ๆ พกขึ้นเครื่องไปด้วยจะเป็นการดีที่สุดค่ะ
5. เครื่องสำอางขึ้นเครื่องได้ไหม? สามารถนำเครื่องสำอางที่นำขึ้นเครื่องได้ โดยเครื่องสำอางที่เป็นของเหลวต้องอยู่ในขวดหรือภาชนะที่มีขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (3.4 ออนซ์) และต้องรวมในถุงพลาสติกใสที่มีซิปล็อคขนาดไม่เกิน 1 ลิตร (1 ควอร์ต) เช่นเดียวกับของเหลว ในขณะที่เครื่องสำอางที่เป็นของแข็งสามารถนำขึ้นเครื่องได้ตามปกติ
6. ยาสีฟันขึ้นเครื่องได้ไหม? ยาสีฟันต้องอยู่ในภาชนะที่มีขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (3.4 ออนซ์) และต้องบรรจุในถุงพลาสติกใสที่มีซิปล็อคขนาดไม่เกิน 1 ลิตร (1 ควอร์ต) เช่นเดียวกับของเหลว
7. ของมีคมที่ห้ามนำขึ้นเครื่องมีอะไรบ้าง? โดยทั่วไปจะเป็นของมีคมที่ก่อให้เกิดอันตราย สามารถนำมาใช้เป็นอาวุธได้ เช่น มีด, กรรไกรขนาดใหญ่, และเครื่องมือที่มีคมอื่น ๆ เป็นของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน ห้ามนำขึ้นเครื่องบินไปในห้องโดยสาร ต้องบรรจุในกระเป๋าที่ฝากใต้เครื่อง
8. หากพบวัตถุที่ห้ามนำขึ้นเครื่องในการตรวจสอบควรทำอย่างไร? หากพบวัตถุที่เป็นของห้ามขึ้นเครื่องบิน จำเป็นที่จะต้องทิ้งหรือส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ตามข้อกำหนดของสนามบินดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อกำหนดของสายการบินและสนามบินที่คุณเดินทางไป เพื่อข้อมูลที่อัปเดตและถูกต้อง รวมไปถึงข้อกำหนดเฉพาะเพิ่มเติมสำหรับสิ่งของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน
9. แต่งตัวแบบไหน ไม่ให้ขึ้นเครื่อง? การแต่งตัวสำหรับการขึ้นเครื่องบินนั้นมีความสำคัญมาก ถึงแม้อาจดูไม่เกี่ยวกับเป็นของห้ามขึ้นเครื่องบินสักเท่าไหร่ก็ตาม เนื่องจากแต่ละสายการบินมีนโยบายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการแต่งกายของผู้โดยสาร แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วการแต่งตัวจะไม่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถขึ้นเครื่องได้ แต่หากแต่งตัวไม่เหมาะสม เช่น เสื้อผ้าที่มีข้อความหรือภาพที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ไม่เหมาะสม หรืออาจเป็นที่ไม่พอใจต่อผู้โดยสารคนอื่น ๆ เช่น มีคำหยาบคาย มีสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกหรือเหยียดเชื้อชาติ การแต่งตัวที่เปิดเผยโชว์เนื้อหนังมากเกินไป การสวมเสื้อผ้าที่มีกลิ่นแรงหรือเปรอะเปื้อน การแต่งตัวที่ไม่เหมาะสมตามกฎหมายหรือวัฒนธรรมของประเทศปลายทาง การสวมใส่เครื่องประดับหรืออุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตราย การแต่งกายในลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีของห้ามขึ้นเครื่องบินแต่อาจนำไปสู่การปฏิเสธไม่ให้ขึ้นเครื่องได้
จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วของที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน จะเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยในเที่ยวบิน ดังนั้นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับของห้ามขึ้นเครื่องบินและการตรวจสอบข้อกำหนดเฉพาะของสนามบินและสายการบินที่เราจะเดินทาง เช่น หากคุณเดินทางด้วยสายการบิน AirAsia แล้วไม่แน่ใจว่าของที่เราจะนำไปด้วย เป็นของห้ามขึ้นเครื่อง AirAsia หรือไม่ หรือว่าหากเดินทางด้วยสายการบินไทย มีสิ่งของห้ามโหลดใต้เครื่องการบินไทยอะไรบ้าง ก็สามารถติดต่อสอบถามไปยังสายการบิน เพื่อเช็คให้ชัวร์ว่าสัมภาระที่เรานำติดตัวไปด้วยไม่ได้เป็นของห้ามขึ้นเครื่องบิน ก็สามารถช่วยให้การเดินทางของเราเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตามสำหรับลูกค้าที่จองทัวร์ต่างประเทศกับทัวร์ว้าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทางเจ้าหน้าที่ได้เลย